ว่ากันด้วยเรื่อง Participial Phrase
โพสต์นี้ไปทาง Grammar นิดๆ นะคะ พอดีมีน้องถามเข้ามาก็เลยแชร์ให้ทุกคนได้รู้ด้วยกัน เพราะมีประโยชน์ไม่ใช่แค่เพื่อการสอบอย่างเดียวนะคะ.. แต่ยังเอาไปใช้ในการเขียนให้สละสลวยและดูโปรขึ้นด้วยนะคะ เรื่อง Participial Phrase นี้เป็นเรื่องของการเขียนประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกันโดยไม่ใช้คำเชื่อมมาช่วยเลย ปกติที่เราเรียนมาถ้าจะเขียนประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เราจะต้องเห็นคำเชื่อมมาช่วย อย่างพวก because, as, for เช่น
I cook well “because” I help grandma cook very often.
ฉันทำกับข้าวเก่งเพราะฉันช่วยคุณยายทำกับข้าวบ่อยๆ
(I cook well = 1 วลี)
(I help grandma cook very often = 1 วลี)
(ใช้ because มาช่วยเชื่อมวลีทั้ง 2.. เป็นการเขียนบอกสาเหตุ)
ทีนี้พอโตขึ้น เราก็มาเริ่มเรียนรู้ที่จะเขียนประโยคแบบนี้ในรูปที่ไฮโซขึ้นนิดนึง คือฝรั่งเค้าก็มีวิธีเขียนประโยคแบบข้างบนโดยรวบให้สั้นๆ ค่ะแล้วก็ไม่มีคำเชื่อม because เหลือเลย ซึ่งก็ทำได้ 3 แบบ
1. ใช้ย่อประโยคสำหรับเล่าเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผลกัน
วิธี: ก็คือให้เอาส่วนเหตุมาไว้ข้างหน้า แล้วก็ตัดประธานซะ แล้วก็ขึ้นต้นประโยคด้วย verb เลย โดยทำ verb ให้เป็น V.ing เช่น
จาก > I cook well because I help grandma cook very often.
ก็เป็น > Helping grandma cook very often, I cook well.
ง่ายๆ เห็นมั้ยคะ สิ่งที่จะต้องไม่ลืมเวลาทำประโยคแบบนี้คือ
a. ต้องดูว่าประธานของประโยคจะต้องสามารถทำ verb ทั้งสองได้นะคะ อย่างในตัวอย่างคือ I ทำทั้ง cook และ help ก็ถือว่าโอเค
ตัวอย่างประโยคที่เขียนในรูปนี้ผิดก็อย่างเช่น
Helping grandma cook often, the curry is good.
แบบนี้ the curry เป็นประธาน ทำกริยา is เองแต่ curry ทำกริยา help ไม่ได้ ประโยคนี้ก็เลยแปร่ง ไม่ถูกนะคะ
b. ประโยคย่อยต้องเป็นเหตุ-ผลกัน “เสมอ”
ตัวอย่างประโยคที่รวบแล้วไม่ถูกก็คือ
Helping grandma cook often, I study hard.
แบบนี้ถึงแม้ว่า I ทำทั้ง study ได้และ help ได้ ประโยคก็เหมือนจะถูก แต่ว่าประโยคย่อยทั้ง 2 ไม่ได้เป็นเหตุ-ผลกัน “ฉันช่วยคุณยายทำกับข้าวบ่อยๆ ฉันเลยขยันเรียน” มันก็ไม่ได้เกี่ยวเป็นเหตุเป็นผลกันซะหน่อย.. ฉะนั้นเราจะเอามาเขียนในรูปย่อเป็น Participial Phrase ไม่ได้นะจ๊ะ
Tip: เราจะเอารูปย่อ Participial แบบนี้ไปใช้กับเรื่องในอดีต V2 ก็ได้นะ เช่น
As she saw the accident, she fainted.
ก็เป็น Seeing the accident, she fainted.
พอเค้าเห็นอุบัติเหตุ เค้าก็เลยเป็นลมไปเลย
พอเข้าใจนะคะ สำหรับแบบอื่น ขอว่ากันต่อในโพสต์หน้านะคะ ระหว่างนี้อาจจะลองด้วยเชื่อมประโยคนี้ดูนะคะ
1. Alice was happy as she spent the afternoon at the beach.
2. The vdo earns 50 million views. It becomes the most popular vdo now.
He received a message “which” tells him about the promotion.
เค้าได้รับข้อความที่แจ้งเรื่องของโปรโมชั่น
(He received a message = 1 วลี)
(which tells him about the promotion = 1 วลี)
(วลีที่ 2 ไปขยายคำว่า message ว่าบอกเกี่ยวกับอะไร ก็ใช้ which มาเชื่อม)
2. แบบที่สองใช้ในกรณีการขยายคำนาม ก็ให้ตัดคำพวก that, who, which หน้า verb ออกทั้งหมด แล้วทำ verb ให้เป็น V.ing เช่น
จาก > He received a message which tells him about the promotion.
ก็เป็น > He received a message, telling him about the promotion.
Note: แบบนี้ตามหลักเค้าเรียกว่า Reduced relative clause ค่ะ
แบบข้างบนที่พูดถึงนี้เค้าเรียกว่าเป็น Present participial คือการทำ verb ในส่วนขยายให้เป็น V.ing ก็คือ
ข้อ 1/ helping ไปขยาย I และ I ก็ทำกิริยา help นั้นเองได้
ข้อ 2/ telling ไปขยาย message โดย message นั้นก็ทำกิริยา tell นั้นได้
Note: เป็นเรื่องที่อธิบายทางตัวหนังสือยากมาก พอเข้าใจกันมั้ยคะ พี่พิมจะมีสอน online เรื่องนี้ในวันอังคารหน้า 16 ก.ค. ตอน 6 โมงเย็น เรียนผ่านระบบ online โดยใช้เครื่องคอมที่บ้านได้เลย ถ้าใครสนใจก็โทรมาถามรายละเอียดได้นะคะ 086.392.1670