Present participle กับ Past participle ต่างกันอย่างไร
มีน้องถามเข้ามาหลายคนแล้วเรื่อง Participial ซึ่งพี่พิมเคย post ไปเมื่อ 15 ก.ค. นะคะ ทีนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องการใช้ participial ในมุมที่เอามาขยายคำนาม
อ่านถึงตรงนี้แล้วอย่าเพิ่งเปลี่ยนใจไม่อ่านนะคะ ไม่มีอะไรยากจ้า.. แค่รู้หลักก็ใช้ได้ง่ายปรึ๊ดๆ
คือว่า.. ปกติแล้วคำนามถ้าเราจะขยายว่าอะไร กว้าง สูง ใหญ่ มาก น้อย เรามีคำที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า adjective มาขยาย เช่น
a tall boy => tall = adj. ขยายคำว่า boy
a big box => big = adj. ขยายคำว่า box
ทีนี้ก็มีคำบางคำที่ในภาษาอังกฤษไม่มี adjective เฉพาะที่จะใช้ได้เลย เช่น
อาหารที่แช่แข็ง (...... food) => ต้องหาคำว่า “ที่แช่แช็ง” มาขยาย food
ฝนที่ตกมาแล้วแข็งตัว (....... rain) => ต้องหาคำว่า “ที่ตกมาแล้วแข็งตัว” มาขยาย rain
ซึ่ง... คำว่า “ที่แช่แช็ง” และ “ที่ตกมาแล้วแข็งตัว” ในภาษาอังกฤษก็ไม่มีคำเฉพาะของเค้าค่ะ เค้าก็เลยใช้วิธีเอา verb นี่หละมาปรับใช้ ซึ่งคำที่ใกล้เคียงด้วยความหมายก็คือคำว่า freeze
ทีนี้จะเอา verb มาใช้โดดๆ เป็น freeze food, freeze rain เลยก็ไม่ได้เพราะความหมายจะเปลี่ยน เค้าก็เลยหาวิธีเปลี่ยนรูป verb โดยดูว่า
??คำนามที่ถูกขยายสามารถทำ verb นั้นเองได้รึเปล่า??
# ถ้าทำเองไม่ได้ ให้เปลี่ยน verb ตัวนั้นเป็น V3 (ก็เหมือน passive voice คือ ถูกกระทำ)
# ถ้าทำเองได้ ให้เปลี่ยน verb ตัวนั้นเป็น V-ing
อาหารที่แช่แข็ง (...... food)
… food แช่แข็งเอง “ไม่ได้” ใช้ V3 => frozen food
ฝนที่ตกมาแล้วแข็งตัว (....... rain)
… rain แข็งตัวเอง “ได้” ใช้ V-ing => freezing rain
Note: ถ้าจะเรียกตามหลัก Grammar
แบบที่ใช้ V3 เรียกว่า Past Participle
แบบที่ใช้ V-ing เรียกว่า Present Participle
ลองดูคำเหล่านี้นะคะว่าเราจะใช้เป็น V3 หรือ V-ing ดีนะ
1. เก้าอี้ที่หักแล้ว (broken / breaking) chair
2. พระอาทิตย์ที่กำลังตก (set / setting) sun
3. สินค้าส่งออก (exported / exporting) goods
4. ทีมที่นำอยู่ (led / leading) team