top of page

Present participle กับ Past participle ต่างกันอย่างไร

มีน้องถามเข้ามาหลายคนแล้วเรื่อง Participial ซึ่งพี่พิมเคย post ไปเมื่อ 15 ก.ค. นะคะ ทีนี้ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องการใช้ participial ในมุมที่เอามาขยายคำนาม

อ่านถึงตรงนี้แล้วอย่าเพิ่งเปลี่ยนใจไม่อ่านนะคะ ไม่มีอะไรยากจ้า.. แค่รู้หลักก็ใช้ได้ง่ายปรึ๊ดๆ

คือว่า..​ ปกติแล้วคำนามถ้าเราจะขยายว่าอะไร กว้าง สูง ใหญ่ มาก น้อย เรามีคำที่ในภาษาอังกฤษเรียกว่า adjective มาขยาย เช่น

a tall boy => tall = adj. ขยายคำว่า boy

a big box => big = adj. ขยายคำว่า box

ทีนี้ก็มีคำบางคำที่ในภาษาอังกฤษไม่มี adjective เฉพาะที่จะใช้ได้เลย เช่น

อาหารที่แช่แข็ง (......​ food) => ต้องหาคำว่า “ที่แช่แช็ง” มาขยาย food

ฝนที่ตกมาแล้วแข็งตัว (....... rain) => ต้องหาคำว่า “ที่ตกมาแล้วแข็งตัว” มาขยาย rain

ซึ่ง... คำว่า “ที่แช่แช็ง” และ “ที่ตกมาแล้วแข็งตัว” ในภาษาอังกฤษก็ไม่มีคำเฉพาะของเค้าค่ะ เค้าก็เลยใช้วิธีเอา verb นี่หละมาปรับใช้ ซึ่งคำที่ใกล้เคียงด้วยความหมายก็คือคำว่า freeze

ทีนี้จะเอา verb มาใช้โดดๆ เป็น freeze food, freeze rain เลยก็ไม่ได้เพราะความหมายจะเปลี่ยน เค้าก็เลยหาวิธีเปลี่ยนรูป verb โดยดูว่า

??คำนามที่ถูกขยายสามารถทำ verb นั้นเองได้รึเปล่า??

# ถ้าทำเองไม่ได้ ให้เปลี่ยน verb ตัวนั้นเป็น V3 (ก็เหมือน passive voice คือ ถูกกระทำ)

# ถ้าทำเองได้ ให้เปลี่ยน verb ตัวนั้นเป็น V-ing

อาหารที่แช่แข็ง (......​ food)

… food แช่แข็งเอง “ไม่ได้” ใช้ V3 => frozen food

ฝนที่ตกมาแล้วแข็งตัว (....... rain)

… rain แข็งตัวเอง “ได้” ใช้ V-ing => freezing rain

Note: ถ้าจะเรียกตามหลัก Grammar

แบบที่ใช้ V3 เรียกว่า Past Participle

แบบที่ใช้ V-ing เรียกว่า Present Participle

ลองดูคำเหล่านี้นะคะว่าเราจะใช้เป็น V3 หรือ V-ing ดีนะ

1. เก้าอี้ที่หักแล้ว (broken / breaking) chair

2. พระอาทิตย์ที่กำลังตก (set / setting) sun

3. สินค้าส่งออก (exported / exporting) goods

4. ทีมที่นำอยู่ (led / leading) team

Read more
bottom of page